ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD
เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวไอยเรศ เวชกามา
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 27 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นรูปแบบการวิจัยแบบทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest - Posttest Design) ระยะเวลาในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาฟิสิกส์ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิคแบบ PBL: Problem Base Learning เรื่องงานและพลังงาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องงานและพลังงาน รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22 - 0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.91 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 2) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 0.74 มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 83.56/82.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 62
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีผลต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องงานและพลังงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.64) ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 4 เนื้อหาของชุดฝึกปฏิบัติ สามารถนำไปเป็นพื้นฐานในระดับที่สูงขึ้นได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.63) รองลงมาคือ ด้านที่ 2 การเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.54) รองลงมาคือ ด้านที่ 3 ชุดฝึกปฏิบัติ ทำให้เกิดทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.57) และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 8 กิจกรรมในชุดฝึกปฏิบัติเหมาะสมกับเวลา อยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.65)