ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R
เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางจิรัชยา เกตุทอง
สถานศึกษา โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R
เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบ
การเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 48 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องมีที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 ชุด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22-0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21-0.96 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.88 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32 ถึง 0.85 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ สถิติ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.51/84.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62 แสดงว่านักเรียน
มีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 62
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบ การเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบ การเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่องการอ่านจับใจความ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56,
S.D. = 0.59) ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ข้อ 2 เอกสารประกอบการเรียน
โดยใช้เทคนิค SQ4R ทำให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.47)
ลำดับถัดมาคือ คือ ข้อ 3 เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R ทำให้เกิดทักษะด้านการอ่าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.56) และข้อ 15 ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเองทุกคน
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.53) ส่วนด้านที่นักเรียนมีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด
คือ ข้อ 8 เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค SQ4R เหมาะสมกับเวลา อยู่ในระดับมาก
( = 4.40, S.D. = 0.68)