ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
สาระการเรียนรู้ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นายสมคิด ทองนรินทร์
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน
เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระการเรียนรู้ดนตรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 เล่ม 3) และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1
โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 25560 จำนวน 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 37 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Samphing) โดยวิธีจับฉลาก วลาที่ใช้ในการทดลอง 10 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบ การเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่ใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่องดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน
โดยใช้ t - test
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 8 เล่ม มีประสิทธิภาพ 87.98/85.57
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เรื่อง ดนตรีไทย ทฤษฎีและการฝึกเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจในระดับมาก