บทคัดย่อ
เรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนในโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ผู้ศึกษา นายพูลศักดิ์ พงษ์พิพัฒน์วัฒนา
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนในโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ตามรูปแบบการประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Model) 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตและความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ารายงานผล การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนในโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) จังหวัด มีจำนวน 697 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้เหตุผลเลือกเพื่อการศึกษาได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 5 คน คณะกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 11 คน ครูประจำสายชั้น จำนวน 35 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 313 คน และผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2560 ใช้การสุ่มแบบเป็นชั้นภูมิ (Stratified random sampling) โดยใช้ตารางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie& Morgan, 1970, pp. 607-610) จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบประเมินเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของโครงการ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 6 ฉบับ ผู้รายงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และนำแบบประเมินที่ได้รับมาวิเคราะห์ แจกแจงความถี่ (Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย โดย ระยะเวลาการดำเนินการและระยะเวลาการประเมิน อยู่ในระหว่าง วันที่ 16 พฤษภาคมพ.ศ. 2560 - วันที่ 31 มีนาคมพ.ศ. 2561
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียนของนักเรียนโรงเรียน
เมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี คณะกรรมการบริหารโครงการ
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริบทของโครงการในด้าน
ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของรัฐบาล สำนักการศึกษาเมืองพัทยา และนโยบายของโรงเรียน ในภาพรวม มีความสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เป็นโครงการที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาการอ่านเขียนผู้เรียน ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือเป็นโครงการที่มีความสอดคล้อง กับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดเน้นของโรงเรียน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี คณะกรรมการติดตามและประเมินโครงการ ครูประจำสายชั้น มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือความเพียงพอของปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การสนับสนุนจาก ครู องค์กรชุมชนและหน่วยงานอื่น
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนของโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี คณะกรรมการบริหารโครงการและคณะกรรมการติดตามและประเมินผล ครูประจำสายชั้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดกิจกรรมตามโครงการมีระดับการดำเนินการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือสถานศึกษานำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สถานศึกษาจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ
ผลการประเมินด้านกระบวนการของกิจกรรมย่อย 3กิจกรรมในโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการติดตามและประเมินผล ได้ข้อค้นพบ ดังนี้
3.1 กิจกรรมอ่านออก เขียนได้ พบว่า ในภาพรวม ระดับดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงและบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการจัดตั้งคณะติดตาม กำกับดูแล รายงานความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมตามโครงการทุกระยะ
3.2 กิจกรรมอ่านคล่อง เขียนคล่อง พบว่า ในภาพรวม ระดับการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นำผลการประเมิน มาใช้ปรับปรุงและสอนเสริมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการจัดตั้งคณะติดตาม กำกับดูแล รายงานความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมตามโครงการทุกระยะ
3.3 กิจกรรมอ่านเพื่อสื่อสารและรู้เรื่องที่อ่าน พบว่า ในภาพรวม ระดับการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประชุมชี้แจงการปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการและปฏิทินงาน ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครูจัดการเรียนการสอน
4.ผลการประเมินด้านผลผลิตและความพึงพอใจผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนในโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ตามความคิดเห็นของ
ครู และบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการติดตามและประเมินผล คณะกรรมการบริหารโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุดเมื่อพิจารณา ในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ครูมีความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการใหม่ๆจากโครงการ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูนำนักเรียนเข้าแข่งขันทักษะทางวิชาการสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและได้รับรางวัลเพิ่มมากขึ้น
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี คณะกรรมการติดตามและประเมินผล คณะกรรมการบริหารโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีทักษะการอ่าน เขียนภาษาไทยและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การใช้งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินงาน เป็นไปอย่างเหมาะสม
ข้อเสนอแนะ
1. รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นโครงการที่ดี สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา นำไปประยุกต์ใช้กับงานประเมินโครงการหรือวิจัยเชิงคุณภาพที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
2. สถานศึกษาสังกัดเมืองพัทยาสามารถนำรูปแบบของโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียน ของนักเรียนโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ไปใช้ในการพัฒนาความรู้ความสามารถในการจัดทำกิจกรรมการเรียนการสอนสาระภาษาไทยของครู ซึ่งจะต้องอาศัยเวลา เทคนิควิธีการและกระบวนการที่กระทำอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงบริบท ปัจจัยเบื้องต้นของสถานศึกษา
3. ผู้บริหารโรงเรียนสามารถนำผลการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่าน เขียนของนักเรียนในโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) ไปใช้ในการพัฒนาครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ