บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน : รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน : นางนูรีซา วาจิ ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านแหลมทราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแหลมทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแหลมทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2560
และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแหลมทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 82.88/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ที่ 80 /80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและ การเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7333 หรือ ร้อยละ 73.33
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน
คำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.11