ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางชโลมทิพย์ คำเวียง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านไผ่ตาสุ่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียน
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านไผ่ตาสุ่ม จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการรายงาน คือ E1/E2 ค่าเฉลี่ย (X-bar ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. )
และค่าสถิติที (t test Dependent)
ผลการรายงานพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ประสิทธิภาพของ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.29/86.47 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2557 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.56 ,S.D. = 0.19)