ชื่อเรื่อง :รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านลานนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวกรรณิกา จอมทอง
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ในการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านลานนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ครั้งนี้ โดยใช้รูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านลานนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต2) เพื่อนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการยกระดับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านลานนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3โดยผู้ประเมินได้ดำเนินการใน 2 ขั้นตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในด้าน บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต
ตอนที่ 2 การจัดทำแนวทางการยกระดับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากร ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบดูแลโรงเรียนบ้านลานนาในปีการศึกษา 2560 รวมทั้งสิ้น จำนวน184 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 147 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) ครู จำนวน 9 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 6 จำนวน75 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 50 คน 5) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 6) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่แบบสอบถามแบบ มาตรประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 9ฉบับ
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านลานนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
1.ผลการประเมินบริบทของโครงการโดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัดในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัด ได้แก่ด้านนโยบายและจุดมุ่งหมายของโรงเรียน ด้านความต้องการของโรงเรียนและชุมชน ด้านความเหมาะสมของโครงการ และด้านความพร้อมของแหล่งบริการสุขภาพ พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุด
2.ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยการประเมิน4 ตัวชี้วัดพบว่าโดยภาพรวมโครงการมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุดและผลการประเมินแต่ละตัวชี้วัดได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ พบว่าทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการพบว่า โดยภาพรวมโครงการมีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินกิจกรรม ด้านการนิเทศติดตาม ด้านการประเมินผล และด้านการปรับปรุงแก้ไข พบว่าทุกตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุด
4.ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า โดยภาพรวมโครงการมีผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุดโดยการประเมิน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านผลการดำเนินงาน ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ที่ให้ข้อมูล คือ นักเรียนครู ผู้บริหารโรงเรียนผู้ปกครองกรรมการสถานศึกษาขั้นฐาน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านลานนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3เป็นโครงการที่ดีมากช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชนควรดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยครูให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครู ได้เข้าร่วมประชุม หรือรับการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ การดูแลป้องกันเพื่อใช้สำหรับการดูแลและพัฒนาสุขภาพนักเรียนครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี และควรส่งเสริมการแสวงหาความรู้และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพสู่ผู้ปกครองและชุมชนเพื่อให้สามารถดูแลตนเองและบุตรหลานให้มีสุขภาพที่ดี นักเรียนให้ข้อเสนอแนะว่าโรงเรียนควรมีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายและเล่นกีฬาให้หลากหลายชนิดขึ้น โรงเรียนควรจัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภท เพื่อให้มีโอกาสได้เลือกมากยิ่งขึ้น กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเสนอแนะให้โรงเรียนพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องและประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรับทราบต่อไป ผู้ปกครองนักเรียนให้ข้อเสนอแนะว่าควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้มากยิ่งขึ้นประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง และจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ข้อเสนอแนะว่าโรงเรียนควรประสานอาสาสมัครหมู่บ้านเข้ามาดูแล จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชนให้มากยิ่งขึ้น และควรจัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ ในด้านการป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงและอุบัติเหตุให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุด
ตอนที่ 2 การจัดทำแนวทางการยกระดับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ หลังจากประเมินโครงการเสร็จสิ้น ผู้ประเมินนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ และคัดเลือกจากผลการประเมินโครงการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ในด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม นำมาจัดทำแนวทางการยกระดับเพื่อยกระดับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านลานนา โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ จากนั้นผู้ประเมินนำมาปรับปรุงตามคำแนะนำ จัดทำแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านลานนา ดังนี้
ด้านบริบท เกี่ยวกับนโยบายและจุดมุ่งหมายของโรงเรียน ควรกำหนดนโยบายและจุดมุ่งหมายของโรงเรียนให้ชัดเจน นโยบายการส่งเสริมสุขภาพที่ประกาศไว้ต้องช่วยให้โรงเรียนมีการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนและบุคลากร แท้จริง โรงเรียนต้องมีการประกาศนโยบายส่งเสริมสุขภาพให้ชัดเจน รวมถึงการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึง จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้สามารถนำสู่การปฏิบัติได้ และในด้านความพร้อมของแหล่งบริการสุขภาพ โรงเรียนควรอยู่ใกล้สถานบริการของสาธารณสุข มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์ และโรงเรียนต้องมีความพร้อมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบุคลากร ควรสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการอบรมด้านการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนให้ผู้ปกครอง อาสาสมัครในชุมชนที่มีความรู้ด้านสุขภาพ ในด้านงบประมาณโรงเรียนแสวงหางบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และโรงเรียนควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ด้านกระบวนการ ในการดำเนินกิจกรรม ควรจัดบริการทดสอบสายตาแก่นักเรียนและบุคลากรปีละ 1 ครั้ง จัดบริการทดสอบการได้ยินด้วยเครื่องทดสอบการได้ยินปีละ 2 ครั้ง จัดห้องพยาบาลในโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่เจ็บป่วยเล็กน้อย จัดหาเวชภัณฑ์ยาสำหรับพยาบาลเบื้องต้นให้เพียงพอ จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่นักเรียนบุคลากร และชุมชนอย่างสม่ำเสมอ จัดกิจกรรมฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพ เช่น การล้างมือ การ สระผม การกำจัดเหา การแปรงฟัน เป็นต้น จัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่นการป้องกัน อุบัติเหตุ ยาเสพติด ไข้เลือดออก ไข้หวัดนก โรคปากและมือ เท้า เปื่อย เป็นต้น
ในด้านการประเมินผล ควรมีการบันทึกผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม ควรมีการประเมินผลในการดำเนินกิจกรรมย่อยของโครงการแต่ละครั้ง และด้านการปรับปรุงแก้ไข ควรมีการรายงานปัญหา อุปสรรคต่อที่ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไข และเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมโครงการได้แสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะในแต่ละกิจกรรม
ด้านผลผลิต ควรจัดอบรมนักเรียนใช้แบบบันทึกสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและใช้เป็นประจำ นักเรียนบันทึกผลการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง การขยายผลสู่ชุมชนทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น จัดกิจกรรมให้นักเรียนมีความรู้ในดูแลสุขภาพในช่องปากของตนเอง จัดกิจกรรมให้นักเรียนล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร จัดอบรมให้นักเรียนสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย และแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน และหน่วยงานในชุมชนเพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านลานนา จึงเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยยกระดับตามแนวทางการยกระดับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ได้นำเสนอไว้