ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย โดยใช้แบบฝึก
ผู้รายงาน นายกรณ์ มลิลา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอล โดยใช้ แบบฝึกกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลจำนวน 5 รายการ คือ การเสิร์ฟลูกมือล่าง การเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า การเสิร์ฟลูกมือบนด้านข้าง การเสิร์ฟลูกตวัดและการกระโดดเสิร์ฟ และแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกที่ผู้รายงานสร้างขึ้น 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอล ซึ่งเป็นแบบวัดความแม่นยำในการเสิร์ฟ ของอภิญญา ทรงมณี (2556) รูปแบบการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี (One shot case study) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนในการทดสอบครั้งที่ 1 และการทดสอบครั้งที่ 2 โดยใช้ค่า ที (t-Test dependent) และแบ่งระดับความสามารถการเสิร์ฟวอลเลย์บอลโดยใช้คะแนนที (T Score)
ผลจากการศึกษาพบว่า
แบบฝึกทักษะการฝึกวอลเลย์บอลที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหามีคุณภาพสามารถสร้างเสริมทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้นักเรียนการพัฒนาทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลดีขึ้นหลังจากได้รับการฝึกทักษะ โดยมีอัตราการเพิ่มเป็นร้อยละของคะแนนทักษะการเสิร์ฟในการทดสอบครั้งที่ 2 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการทดสอบในครั้งที่ 1 ทุกรายการ โดยอัตราการเพิ่มเป็นร้อยละของคะแนนทักษะการเสิร์ฟลูกมือล่าง ลูกมือบนด้านหน้า ลูกมือบนด้านข้าง ลูกตวัดและการกระโดดเสิร์ฟ มีค่าเท่ากับ 28.92 , 25.83, 21.38, 30.78 และ 21.53 ตามลำดับ
ผลการทดสอบทักษะการเสิร์ฟวอลเลย์บอลของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 รายการ พบว่า แต่ละรายการเสิร์ฟมีคะแนนการทดสอบครั้งที่ 2 สูงกว่าคะแนนการทดสอบครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ระดับความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย ในแต่ละรายการเป็นดังนี้
ระดับดีมาก ของการเสิร์ฟลูกมือล่าง ลูกมือบนด้านหน้า ลูกมือบนด้านข้าง ลูกตวัดและการกระโดดเสิร์ฟ มีค่าคะแนนดิบตามลำดับดังนี้ 58-60 , 65-68 , 61-64, 60-63 และ 59-62 โดยมีจำนวนนักเรียนเท่ากับ 3, 5, 5, 5 และ 8 คน ตามลำดับ
ระดับดี จากการทดสอบทักษะการเสิร์ฟลูกมือล่าง ลูกมือบนด้านหน้า ลูกมือบนด้านข้าง ลูกตวัดและการกระโดดเสิร์ฟ มีค่าคะแนนดิบตามลำดับดังนี้ 54-56 , 62-63 , 58-60, 56-59 และ 55-58 โดยมีจำนวนนักเรียนเท่ากับ 5, 4, 4, 6 และ 3 คน ตามลำดับ
ระดับปานกลาง จากการทดสอบทักษะการเสิร์ฟลูกมือล่าง ลูกมือบนด้านหน้า ลูกมือบนด้านข้าง ลูกตวัดและการกระโดดเสิร์ฟ มีค่าคะแนนดิบตามลำดับดังนี้ 52-53 , 60 , 55-57, 52-55 และ 53-54 โดยมีจำนวนนักเรียนเท่ากับ 4, 2, 3, 3 และ 2 คนตามลำดับ
ระดับค่อนข้างต่ำ จากการทดสอบทักษะการเสิร์ฟลูกมือล่าง ลูกมือบนด้านหน้า ลูกมือบนด้านข้าง ลูกตวัดและการกระโดดเสิร์ฟ มีค่าคะแนนดิบตามลำดับดังนี้ 48-50 , 55-58 , 53-54, 48 และ 49-50 โดยมีจำนวนนักเรียนเท่ากับ 5, 4, 4, 1 และ 2 คนตามลำดับ
ระดับต่ำ จากการทดสอบทักษะการเสิร์ฟลูกมือล่าง ลูกมือบนด้านหน้า ลูกมือบนด้านข้าง ลูกตวัดและการกระโดดเสิร์ฟ มีค่าคะแนนดิบตามลำดับดังนี้ 44 , 53-54 , 49-51, 46-47 และ 45-46 โดยมีจำนวนนักเรียนเท่ากับ 1, 3, 2, 3 และ 3 คนตามลำดับ