รายงานการเปรียบเทียบการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบวัฎจักร 7 ขั้น
กับวิธีสอนแบบปกติ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักร 7ขั้น เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้วีสอนแบบวัฏจักร 7 ขั้น กับกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนต่อการสร้างเสริมสุขภาพกายและป้องกันโรคของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักร7ขั้น เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ และ 5) เปรียบเทียบการปฏิบัติเกี่ยวกับ
การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรคของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบ วัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างวิจัยประกอบด้วยกลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับกลุ่มทดลอง ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้วิธีสอนแบบวัฏจักร 7 ขั้น จำนวน 18 แผน 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้วิธีสอนแบบวัฏจักร 7 ขั้น จำนวน 9 เล่ม 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามเจตคติ ของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ
และ 5) แบบสอบถามการปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค จำนวน 20 ข้อ สำหรับนักเรียนกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เหมือนกับเครื่องมือที่ใช้กับกลุ่มทดลอง แตกต่างเฉพาะแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำตามคู่มือครูและจัดการเรียนรู้แบบปกติ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วย Dependent Sample t-test, และ Independent Samplet test ผลการวิจัยพบว่า
1.ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.97/79.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักร 7 ขั้น เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพการและการป้องกันโรค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4.ผลการเปรียบเทียบ เจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรคของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม
5.ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพกายและการป้องกันโรค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม