ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ
การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ตามแนว PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางอุดมพร มะนะโส
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวิเชียรมาตุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนใช้ เพื่อการสื่อสาร และเพื่อการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ดังนั้นในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ
(1) สร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ตามแนว PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) หาดัชนีประสิทธิผลแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความตามแนว PISA กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน.
คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความตามแนว PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (4) เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความตามแนว PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวิเชียรมาตุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน
การดำเนินการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 แผน และแบบฝึกทักษะการอ่านคิด วิเคราะห์
และเขียนสื่อความ ตามแนว PISA จำนวน 9 เล่ม 2)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
จำนวน 30 ข้อซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.250.071 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่
0.29-0.88 ค่าความเชื่อมั่น ( rcc ) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน
ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ( rxy ) ตั้งแต่ 0.42 - 0.77 ค่าความเชื่อมั่น (α ) เท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบสมมติฐานโดยใช้ t test (Dependent. Samples)
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ ตามแนว PISA กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.36/81.67 ซึ่งสูงเกณฑ์ 80/80
2. แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความตามแนว PISA กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6514 แสดงให้เห็นว่า
แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความตามแนว PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นส่งผลให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.14
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความตามแนว PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความตามแนว PISA กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด