การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนบ้านนาวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 ครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินโครงการตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP model) โดยมีวัตถุประสงค์ในการประเมินเพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมและสอดคล้อง ของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากรและวิธีการดำเนินการตามโครงการ เพื่อประเมินกระบวนการ (Process evaluation) เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการที่ปฏิบัติจริง เพื่อประเมินผลผลิต (Product evaluation) เกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการโดยรวมความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการดำเนินงานตามโครงการเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ชุดโดยสอบถามจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า โครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และมีความเป็นไปได้ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ผู้บริหาร เห็นความสำคัญของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้และการสนับสนุน รองลงมาได้แก่ โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมทำให้นักเรียนมีวินัยในตนเองและมีความรักสามัคคีในหมู่คณะ และอันดับสุดท้ายคือผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน
2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า มีความเหมาะสมเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ การปฏิบัติกิจกรรมของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนมีการประสานงาน ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ รองลงมาได้แก่ รูปแบบของการจัดกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และอันดับสุดท้ายคือ โรงเรียนจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอย่างหลากหลาย
3. การประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม นักเรียน เห็นว่า การปฏิบัติงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า กระบวนการในการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม มีความเหมาะสม เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ มีการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเป็นไปอย่างมีระบบ รองลงมาได้แก่ โรงเรียนได้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ และอันดับสุดท้ายคือ คณะกรรมการได้มีการวางแผนหรือตระเตรียมการก่อนที่จะเริ่มดำเนินกิจกรรมทุกครั้ง
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ด้านการดำเนินโครงการของผู้บริหารสถานศึกษาครู คณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า ผลผลติตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประสบความสำเร็จ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมทำให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง รองลงมาได้แก่ โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมทำให้นักเรียนใช้เหตุผลในการตัดสินใจอย่างรอบคอบในการดำเนินชีวิตประจำวัน และอันดับสุดท้ายคือ โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมทำให้โรงเรียนมีบรรยากาศที่ดีและเอื้อต่อการพัฒนานักเรียนในด้านการเรียนการสอน
สำหรับผลการประเมินด้านความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของ โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประสบความสำเร็จ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ โครงการนี้ช่วยให้การดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันของนักเรียนเป็นไปอย่างมีความสุข รองลงมาได้แก่ ประโยชน์ของโครงการนี้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และอันดับสุดท้ายคือ คุณค่าของโครงการนี้ต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนบ้านนาวง โดยภาพรวมและรายด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน จึงควรนำแนวทางการดำเนินงานเผยแพร่แก่โรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป
2. ด้านสภาพแวดล้อม พบว่า รายข้อ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน อยู่ในระดับเหมาะสมมาก แต่ยังอยู่ในระดับน้อยกว่าเรื่องอื่น ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการโรงเรียนโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมควรแสวงหาวิธีการในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนให้การสนับสนุน การดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนเขียนวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนมากกว่านี้
3. ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โรงเรียนจัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม อย่างหลากหลาย อยู่ในระดับเหมาะสมมาก แต่ยังอยู่ในระดับน้อยกว่าเรื่องอื่น ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จึงควรจัดกิจกรรมของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น
4. ด้านกระบวนการ พบว่า คณะกรรมการได้มีการวางแผนหรือตระเตรียมการก่อนที่จะเริ่มดำเนินกิจกรรมทุกครั้ง และโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการปฏิบัติในระดับมาก แต่ยังอยู่ในระดับน้อยกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมจึงควรปรับปรุง ในเรื่องการวางแผนหรือตะเตรียมการก่อนดำเนินการ และจัดทำแผนการดำเนินงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมกับผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาวง
2. ควรมีการประเมินผลกระทบของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมกับผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาวง