ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 รหัสวิชา ว23102 กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นายธาราดล สิงห์สูงเนิน
สถานศึกษา โรงเรียนลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสื่อประสมและทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมและดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ให้ได้ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่แบบ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 7 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.2 ถึง 0.8 ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.2 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่น( ) เท่ากับ 0.95 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.64 ถึง 0.91 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 รหัสวิชา ว23102 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.88/82.47 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการศึกษา
3. ความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังจากการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 (S.D. = 0.39 ) อยู่ในระดับมาก