ผู้รายงาน ชวนนท์ พวงทวี
สถานศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุดรธานี อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลัง โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนโรงเรียนอุดมศึกษาพัฒนาการ อุดรธานี อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำแนกเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 38 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 38 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 40 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 41 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 จำนวน 40 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 26 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 จำนวน 36 คน รวมเป็นประชากรทั้งสิ้น 258 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling Random) ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบที่เป็นปรนัยมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องความปลอดภัยในชีวิต และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชา สุขศึกษา รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต ผู้รายงานพัฒนาขึ้น เป็นแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียน เป็นกระทงคำถามแบ่ง 4 ด้าน จำนวน 20 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ตามแนวคิดของลิเคอร์ท (Likert) แบ่ง 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และค่า t test
ผลจากการศึกษา พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 97.54 / 91.57 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา
รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต ที่สร้างขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .8304
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ 32102 หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต อยู่ในระดับมาก