บทคัดย่อ
เรื่อง : รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโป่งเกลือ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
ด้วยวัสดุที่หลากหลาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
ชื่อผู้ศึกษา : นางสาวมยุรา เนตรสุวรรณ
ปีการศึกษา : 2560
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุที่หลากหลายและเพื่อศึกษาผล การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อ มัดเล็ก ความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุที่ หลากหลายของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโป่งเกลือ เป็นช่วงสัปดาห์ จำนวน 10 สัปดาห์ จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย จำนวน 30 แผน คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย จำนวน 30 กิจกรรมและแบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก แบ่งเป็น 4 ด้าน ด้านละ 3 ข้อ รวม 12 ข้อ มีวิธีดำเนินการศึกษา ดังนี้ ทำการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย โดยใช้แบบประเมินที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จนครบ 30 กิจกรรมจึงทำการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กชุดเดียวกับก่อนการจัดกิจกรรม หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้คำนวณหาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุที่หลากหลายในภาพรวมก่อนจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 5.94 คิดเป็น ร้อยละ 66 หลังจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 8.40 คิดเป็นร้อยละ 93.33 มีความก้าวหน้าเฉลี่ย 2.46 คิดเป็นร้อยละ 27.33 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ก่อนจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 6.29 หลังจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 8.29 มีความก้าวหน้าเฉลี่ย 2.00 คิดเป็นร้อยละ 22.22 ด้านความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ก่อนจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 5.53 หลังจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 8.35 มีความก้าวหน้าเฉลี่ย 2.82 คิดเป็นร้อยละ 31.33 ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ก่อนจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 5.65 หลังจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 8.24 มีความก้าวหน้าเฉลี่ย 2.59 คิดเป็นร้อยละ 28.78 ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ก่อนจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 6.29 หลังจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 8.71 มีความก้าวหน้าเฉลี่ย 2.42 คิดเป็นร้อยละ 26.89 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่าง
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย จำนวน 10 สัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงสัปดาห์มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1-10 โดยมีค่าเฉลี่ย 1.67 1.84 1.97 2.05 2.13 2.43 2.56 2.64 2.72 2.96 ตามลำดับแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมีการพัฒนาสูงขึ้นทุกสัปดาห์เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีค่าเฉลี่ย 1.71 1.82 1.88 2.06 2.06 2.35 2.35 2.41 2.65 3.00 ตามลำดับ มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและคงที่ในสัปดาห์ที่ 4-7 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีค่าเฉลี่ย 1.65 1.88 2.00 2.12 2.29 2.59 2.59 2.71 2.71 2.88 ตามลำดับมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นและคงที่ในสัปดาห์ที่ 6-7 หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีค่าเฉลี่ย 1.71 1.82 2.00 2.00 2.00 2.47 2.82 2.71 2.65 2.94 ตามลำดับมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นและคงที่ในสัปดาห์ที่ 3-5 หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา มีค่าเฉลี่ย 1.59 1.82 2.00 2.00 2.18 2.20 2.47 2.71 2.88 3.00ตามลำดับมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นและคงที่ในสัปดาห์ที่ 3-4 หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีการพัฒนาสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2