บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง วิชาคลื่น เสียง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมืองศรีสะเกษจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นางประภา สมสุข
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 (ศรีสะเกษ - ยโสธร)
ปีที่วิจัย 2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง วิชาคลื่น เสียง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลจากการใช้หน่วยการเรียนรู้ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง เสียงและความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ และ3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้หน่วยการเรียนรู้ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง วิชาคลื่น เสียง แสงกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/14(ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560โรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1 ห้อง นักเรียนจำนวน28 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง เสียงแบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test for one sample,และt – test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1.หน่วยการเรียนรู้ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง วิชาคลื่น เสียง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่พัฒนาขึ้นผ่านการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.6 – 0.8 ซึ่งมีค่าสูงกว่า 0.5 จึงถือว่ายอมรับหน่วยการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น
2. นักเรียนที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจมโนทัศน์
เรื่อง เสียง สูงขึ้นโดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์มีความสามารถใน
การสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์สูงขึ้นโดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียน มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เสียง ด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่
ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด