ชื่อเรื่อง รายงานการศึกษาการจัดประสการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล ๑ ( อายุ ๓ ๔ ปี )
ผู้ศึกษา นางเณจินา สุนทรวิภาต
ปีการศึกษา 2560
การศึกษาในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยเปรียบเทียบทักษะการสังเกตและการจำแนกก่อนและหลังการได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย หญิง อายุระหว่าง 3 - 4 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 3 สัปดาห์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ การศึกษาการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 1 แบบทดสอบทักษะการสังเกต 2 ทักษะการจำแนก 3 สื่อความหมาย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดลองการศึกษาแบบ One Group Pretest Posttest Design
ผลการศึกษาพบว่า
1. อภิปรายผล
1. ก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ นักเรียนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับค่าเฉลี่ย
ร้อยละ 53.33 หลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ได้ร้อยละ 86.36
2. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ แบบบูรณาการ
ซึ่งสามารถอภิปรายได้ ดังนี้
1.1 ทักษะการสังเกตกลุ่มเป้าหมายก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ด้านทักษะการสังเกต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.68 (S.D. = 1.24) หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการได้ร้อยละ 4.27 (S.D. = 0.70)
1.2 ทักษะการจำแนกกลุ่มเป้าหมายก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ด้านทักษะการจำแนก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.50 (S.D. = 1.10) หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการได้ร้อยละ 4.23 (S.D. = 0.86)
1.3 ทักษะการสื่อความหมายกลุ่มเป้าหมายก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ด้าน
ทักษะการสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.82 (S.D. = 1.14) หลังจากได้รับการจัด
ประสบการณ์แบบบูรณาการได้ร้อยละ 4.45 (S.D. = 0.59)
2. ข้อเสนอแนะในการทำการศึกษา
2.1. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมอย่างอิสระและไม่ควรกำหนดเวลา เนื่องจากเด็ก
ยัง มีความสนใจในกิจกรรมที่ทำอยู่ เด็กจะให้ความสนใจกับกิจกรรมที่ท้าทาย และเป็นกิจกรรมที่เห็น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรมได้อย่างชัดเจน
2.2. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้วครูผู้สอนควรแนะนำให้นักเรียนทำความสะอาดบริเวณและ
วัสดุอุปกรณ์ที่ทำกิจกรรม ควรเช็ดและทำความสะอาดให้สะอาดทุกครั้ง
2.3 กิจกรรมควรหลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และตื่นตัว
อยู่ตลอดเวลาเพื่อชักจูงให้เด็กเกิดความสนใจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
2.4 เมื่อเสร็จสิ้นการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง ควรมีการสนทนาร่วมกัน สรุปถึงการทำกิจกรรม
ในแต่ละวันว่าเป็นอย่างไร ตลอดจนการสนทนาชิ้นงานของตน (ทีละคน) ในช่วงเวลาส่งงาน เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิดที่ได้จากประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองจากการทำกิจกรรม
3. ข้อเสนอแนะในการทำการศึกษาครั้งต่อไป
3.1. ควรมีการศึกษาผลของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่ส่งเสริมหรือพัฒนาการของ
เด็กปฐมวัยในด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการส่งเสริมกระบวนการคิด การส่งเสริมทางด้านมิติสัมพันธ์ หรือทางด้านเชาว์ปัญญา เป็นต้น
1.2 ควรมีนำผลการศึกษาที่ได้ใช้กับเด็กปฐมวัยในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 3 4 ปี) นี้
ไปใช้พัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4 5 ปี) และในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 (อายุ 5 6 ปี) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ต่อไป