ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำนาฏศิลป์ไทย โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง นาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ วิชานาฏศิลป์ไทย 1
รหัสวิชา ศ20239 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้เสนอผลงาน ชุติมา ศิริประภา
ปีที่เสนอผลงาน พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำนาฏศิลป์ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 เท่ากับ 80/80 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
กลุ่มตัวอย่างศึกษาจากประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ
ทักษิณ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 31 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยประดิษฐ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ วิชานาฏศิลป์ไทย 1 รหัสวิชา ศ20239 ชั้นนมัธยมศึกษาปีที่ 1
2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยประดิษฐ์ วิชานาฏศิลป์ไทย 1 รหัสวิชา ศ 20239 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 แผน เวลา 36 ชั่วโมง 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ จำนวน 1 ฉบับ มีข้อคำถาม 12 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง นาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้านเนื้อหา ตรงตามเนื้อหาของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง นาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ วิชานาฏศิลป์ไทย1 สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา ช่วยให้นักเรียนเข้าใจทักษะการปฏิบัติได้ดีขึ้น มีความเหมาะสมกับพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน ภาพการสาธิตท่ารำสามารถปฏิบัติตามได้ มีความเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน ภาษาที่ใช้มีความเหมาะสมเข้าใจง่าย ชัดเจน คำสั่งและวิธีทำในแต่ละ แบบฝึกมีความชัดเจน ผู้เรียนเข้าใจง่ายเมื่ออ่านแล้วสามารถปฏิบัติตามได้ เอกสารประกอบการเรียนในแต่ละเล่มมีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลตั้งแต่ง่าย ปานกลาง จนถึงระดับค่อนข้างยาก และมีรูปแบบหลากหลายในการฝึกทักษะการปฏิบัติ ด้านลักษณะรูปเล่ม ขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ภาพประกอบมีการนำเสนอที่น่าสนใจ ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน เร้าความสนใจ ไม่น่าเบื่อในการฝึกปฏิบัติ และพัฒนาทักษะของผู้เรียนขนาดเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน กะทัดรัด สะดวกในการใช้ รูปเล่มสวยงาม ด้านคุณค่าและประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทักษะการปฏิบัตินาฏยประดิษฐ์มากขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการปฏิบัตินาฏยประดิษฐ์มากขึ้น สร้างความมั่นใจในการปฏิบัติท่ารำนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผู้เรียนมีสื่อช่วยในการเรียนรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนรักการทำงาน มีความรับผิดชอบ
2. ผลการหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ วิชานาฏศิลป์ไทย 1 รหัสวิชา ศ20239 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียนทักษะการปฏิบัติท่ารำนาฏยประดิษฐ์ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 31 คน มีค่าคะแนนรวมของการทำแบบฝึก โดยภาพรวมทั้ง 4 เล่ม คิดเป็นร้อยละ 90.04 และมีคะแนนรวมจากการทดสอบหลังใช้แบบฝึก คิดเป็นร้อยละ 86.94 กล่าวคือ ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ วิชานาฏศิลป์ไทย 1 รหัสวิชา ศ20239 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ทดลองใช้ได้ค่าประสิทธิภาพเป็น 90.04/86.94 โดยคะแนนตัวแรก หมายถึง ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการเกิดจากการนำคะแนนที่ได้ระหว่างทำกิจกรรมมาหาค่าเฉลี่ยแล้วเทียบเป็นร้อยละ และคะแนนตัวหลัง หมายถึงประสิทธิภาพของผลโดยรวมเกิดจากการนำคะแนนจากการทดสอบหลังเรียน มาหาค่าเฉลี่ยแล้วเทียบเป็นร้อยละ ซึ่งต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงแสดงว่า เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ วิชานาฏศิลป์ไทย 1 รหัสวิชา ศ20239 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ ที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยประดิษฐ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ วิชานาฏศิลป์ไทย 1 รหัสวิชา ศ20239 พบว่า ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.31 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .68 มีความพึงพอใจในระดับ เห็นด้วยมาก