ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางเบญญามาศ วงศ์สถาน วิทยฐานะ ชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน ทั้งหมด 5 ชุดกิจกรรม ดำเนินการศึกษา โดยนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ ไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ที่เรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน ตรวจและเก็บข้อมูลคะแนนไว้ ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ทุกแผน โดยใช้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผน เวลาที่ใช้ 17 ชั่วโมง ผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลคะแนนของนักเรียนจากการทำชุดกิจกรรมแต่ละชุดกิจกรรม เป็นรายบุคคล เมื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้ แล้ว ให้นักเรียนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีค่าเท่ากับ 89.40/88.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80 /80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก
ดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คนพบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนใช้และหลังใช้ชุดกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง
การเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีอวกาศ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 38 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.36 , s.d. = 0.59) ซึ่งพิจารณารายข้อพบว่ารายการที่มีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ สื่อความหมายได้ดี อ่านเข้าใจง่าย ถูกต้องชัดเจน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, s.d. = 0.46) รองลงมา คือ ขั้นตอนในการเรียนรู้ง่าย สะดวก ทำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, s.d. = 0.68) และต่ำที่สุด คือ ความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.13, s.d. = 0.70)