บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้รายงาน นางอทิตา ปรางค์ศรีทอง
ตำแหน่ง ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร(บ้านนครชุม)
ปีที่รายงาน ปี 2560
การศึกษาครั้งนี้ มุ่งรายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบ การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร(บ้านนครชุม) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 23 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 50 แผน 2. กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 10 เล่ม ตามหน่วยการเรียนรู้ โดยมีการสอดแทรกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะด้านการสังเกต ทักษะด้านการจำแนกประเภท ทักษะด้านการสื่อความหมายและทักษะด้านการลงความเห็นจากข้อมูลเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วย เล่มที่ 1 หนูทำได้ เล่มที่ 2 ประสาทสัมผัส เล่มที่ 3 อาหารดีมีคุณค่า เล่มที่ 4 ธรรมชาติแสนสวย เล่มที่ 5 ต้นไม้ที่รัก เล่มที่ 6 สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เล่มที่ 7 วิทยาศาสตร์น่ารู้ เล่มที่ 8 หิน ดิน ทราย เล่มที่ 9 อากาศรอบตัวและเล่มที่ 10 น้ำจ๋าน้ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการศึกษาพบว่า
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร(บ้านนครชุม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( = 16.60) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( = 6.39) คิดเป็นร้อยละ 51.09 และได้สรุปเป็นรายทักษะ 4 ด้าน ดังนี้
1. ทักษะด้านการสังเกต มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( = 4.21) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( = 1.69)
คิดเป็นร้อยละ 50.43
2. ทักษะด้านการจำแนกประเภท มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( = 4.04) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( = 1.60)
คิดเป็นร้อยละ 48.69
3. ทักษะด้านการสื่อความหมาย มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( = 4.17) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( = 1.65)
คิดเป็นร้อยละ 50.43
4. ทักษะด้านการลงความเห็นจากข้อมูล มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( =4.17) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
( = 1.52) คิดเป็นร้อยละ 53.04