ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นางผานิตย์ ปงสนิท
สถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๗ จังหวัดหนองคาย
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ( 1 ) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
( 2 ) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ( 3 ) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ( 4 ) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๗
จังหวัดหนองคาย อำเภอโพนพิสัย สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ซึ่งมีค่าอำนาจ (r) ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.73 และมีค่าระดับความยาก (p) ตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.71 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามความคิดเห็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ( Percentage ) ค่าเฉลี่ย ( Mean ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation )
ค่า t- test (Dependent Samples) และหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 86.04 / 84.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิผลเท่ากับ 0.72045 แสดงว่านักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ พบว่าระดับความคิดเห็นโดย ภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดเกือบทุกรายการ