การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ข้อดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของ
แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหา (SSCS) ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบระหว่าง 2.1) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหา (SSCS) หลังเรียนกับคะแนนเกณฑ์ 2.2) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหา (SSCS) หลังเรียนกับคะแนนเกณฑ์ 2.3 สัดส่วนของนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหา (SSCS) กับเกณฑ์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
อุตรดิตถ์ดรุณี อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัด
ความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
เรื่องความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหา (SSCS) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ ( / ) เป็นร้อยละ 83.21/81.58 เป็นไปตามเกณฑ์ร้อยละ 80/80 ที่ตั้งไว้
 
2. ผลการเปรียบเทียบระหว่าง
2.1 ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหา (SSCS) หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหา (SSCS) หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 สัดส่วนของนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
เรื่องความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับรูปแบบการสอนเพื่อแก้ปัญหา (SSCS) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05