การวิจัย เรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media)
และบทเรียนออนไลน์ SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ
1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม(Social Media)และบทเรียนออนไลน์
SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 และ2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) และบทเรียนออนไลน์
SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ระหว่างปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560
ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองภาคสนามคือ นักเรียน โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 และ 6/2 ห้องละ 18 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 36 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้จริงคือ นักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัย ด้านภาษาอังกฤษ
ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 7 ท่าน
ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือน ตุลาคม 2559 มกราคม 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) และบทเรียนออนไลน์
SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม แบบประเมิน
ความสอดคล้อง และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผลการพัฒนาการกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) และบทเรียนออนไลน์ SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 และความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติที่ใช้ คือ
ค่า IOC ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และเกณฑ์ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 80/80
สรุปผลการวิจัย
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม(Social Media) และบทเรียนออนไลน์
SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม(Social Media) และบทเรียนออนไลน์
SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม(Social Media) และบทเรียนออนไลน์
SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ส่งผลให้นักเรียนมีค่าเฉลี่ยทักษะในศตวรรษที่ 21 หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน และมีค่าเฉลี่ยทักษะในศตวรรษที่ 21 หลังเรียนในระดับมากขึ้นไป
4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม(Social Media) และบทเรียนออนไลน์
SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ส่งผลให้นักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากขึ้นไป