บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้มีทักษะกระบวนการนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถสนองตอบต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลและยึดหลักการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้วิจัยมีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 3/1 โรงเรียนมาบตาพุด
พันพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 43 คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง 2) แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 8 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 40 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามเกณฑ์ของ Likert จำนวน 20 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.82/81.92 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6371 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.6371 หรือคิดเป็นร้อยละ 63.71
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าหลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด