การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษา
ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ
Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอาง
คร่อมคลอง 4) เพื่อศึกษาระดับความพึ่งพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
บ้านเขาชะอางคร่อมคลอง เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.40 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.40 0.60 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อกิจกรรมการเรียน
การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง เป็นแบบ
การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 14 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพราะนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง มีเพียง 1 ห้องเรียนและเป็นนักเรียนที่ผู้ศึกษาค้นคว้าเป็นผู้ทำการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.71/81.43
2. ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง ที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.67
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ Big five Learning เรื่อง แรงและความดัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มากที่สุด