ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนา ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางระพีพรรณ อินทมุณี ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านสวนสมบูรณ์
อำเภอละแม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2
ปีที่รายงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษา-ปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 (2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยินกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับ การได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากร เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนในตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านสวนสมบูรณฺ อำเภอละแม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เนื่องจากผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งสะดวกในการศึกษาและ เก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 25 ชั่วโมง 2) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาเป็นผู้สอนด้วยตนเองดำเนินการทดลองใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ใช้เวลาจำนวน 25 ชั่วโมง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐานโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความยากง่าย( P) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตรของโลเวท ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ของอัลฟา (α) ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม โดยการหาค่า E1 และ E2 และสถิติที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐานโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียน ด้วยการทดสอบที (t-Test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษา-ปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 มีค่าเท่ากับ 81.10/84.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและเสียงกับการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรกดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.93, 4.86 และ 4.79 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3