บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน รายงานการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางสาวปาณิสรา ห้องกระจก
ปีการศึกษา 2560
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการคูณ และการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากได้ใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองประดู่ อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้คือค่าประสิทธิภาพ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เมื่อใช้กับกลุ่มประชากรมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.58/81.45 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนและใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.6735 หรือความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.35
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด