ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้บทเรียนนิทานภาษาอังกฤษที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD
ชื่อผู้ศึกษา นายอนันต์ ล่องแดง
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนนิทานภาษาอังกฤษที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนนิทานภาษาอังกฤษที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดอนขี้เหล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (sample sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนนิทานภาษาอังกฤษที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD จำนวน 5 เล่ม ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 15 ชั่วโมง ไม่รวมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน ๆ ละ 3 ชั่วโมง รวม 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t (t dependent )
ผลการศึกษาพบว่า :
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนนิทานภาษาอังกฤษที่จัดการเรียนรูแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.77/84.17
2. ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 16.92 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.12 และค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.25 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.28
3. นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.35 , S.D. = 0.76)