การใช้แบบฝึกทักษะและการเสริมแรงในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง เส้นขนาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ผู้วิจัย นายนพดล อินทรจงจิต ครูโรงเรียนองค์การสวนยาง 3
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และเพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ที่มีความยากง่ายพอเหมาะและการเสริมแรงด้วยการใช้คำชมเชยระหว่างเรียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนองค์การสวนยาง 3 จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 คน โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์จากง่ายไปหายาก ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 3 ฉบับ และบันทึกคะแนน
ผลการศึกษาปรากฏว่า การใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์และการเสริมแรง ทำให้นักเรียนสามารถทำคะแนนได้ค่อนข้างสูง ดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบผลการทำแบบฝึกทักษะทั้ง 3 ฉบับ ของนักเรียน 9 คน โดยในแต่ละฉบับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 76.67 ฉบับที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 78.33 และฉบับที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 84.44
การใช้แบบฝึกทักษะและการเสริมแรง
ความสำคัญและที่มา
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนเป็นนักเรียนอยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนมาก แต่ยังมีนักเรียนบางคนขาดทักษะการคิดคำนวณ ส่วนนักเรียนที่เรียนดีก็ยังไม่รอบคอบในการทำงาน และบางครั้งยังคิดคำนวณคำตอบจากโจทย์ที่กำหนดให้ไม่ถูกตอง โดยเฉพาะโจทย์ที่มีความซับซ้อน นักเรียนจะตีความโจทย์และคิดคำตอบไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเส้นขนาน นักเรียนบางคนยังดูรูปและหาวิธีคิดไม่ได้ ว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหารูปภาพที่กำหนดให้ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้จึงได้จัดทำวิจัยนี้ขึ้น
ทางเลือกในการแก้ปัญหา
1. นำแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องเส้นขนาน ที่มีความยากง่ายพอเหมาะใช้ฝึกทักษะ
2. เสริมแรงด้วยคำชมเชยระหว่างเรียน
3. เสริมแรงด้วยของรางวัล
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
2. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน
ตัวแปรที่ศึกษา
1. แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ที่มีความยากง่ายพอเหมาะ
2. การเสริมแรงด้วยการให้คำชมเชยระหว่างเรียน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 คน ผู้วิจัยได้จัดทำแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เรื่อง เส้นขนานที่มีความยากง่ายพอเหมาะ และใช้การเสริมแรงด้วยการให้คำชมเชยระหว่างเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่จะช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
2. ได้แนวทางในการกระตุ้นและเสริมแรงนักเรียนระหว่างเรียนวิชาคณิตศาสตร์
ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำตอบในการคำนวณเรื่องเส้นขนาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้
1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนโรงเรียนองค์การสวนยาง 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน
2. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา เป็นเนื้อหาคณิตศาสตร์ คือ เรื่อง เส้นขนาน ตามหลักสูตรของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน 19 กรกฎาคม 2560 30 กันยายน 2560
วัน เดือน ปี กิจกรรม หมายเหตุ
19 23 กรกฎาคม 2560 - ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ปัญหา
27 30 กรกฎาคม 2560 - เขียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
- ศึกษาหลักสูตรเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์
- วิเคราะห์ผู้เรียนและวิเคราะห์เนื้อหา
2 6 สิงหาคม 2560 - ออกแบบเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัย
9 13 สิงหาคม 2560 - นักเรียนทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ฉบับที่ 1ผู้วิจัยบันทึกคะแนน
16 20 สิงหาคม 2560 - นักเรียนทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ฉบับที่ 2 ผู้วิจัยบันทึกคะแนน
23 - 27 สิงหาคม 2560 - นักเรียนทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ฉบับที่ 3 ผู้วิจัยบันทึกคะแนน
วัน เดือน ปี กิจกรรม หมายเหตุ
30 สิงหาคม 3 กันยายน 2560 - เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
6 30 กันยายน 2560 - สรุปและอภิปรายผล
- จัดทำรูปเล่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่มีความยากง่ายพอเหมาะ
2. การให้การเสริมแรงระหว่างเรียน
ขั้นตอนการดำเนินการ
ในการดำเนินการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเขียนคำตอบ แบบฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่อง เส้นขนาน ผู้วิจัยได้วางแผนการดำเนินการศึกษา สร้างแบบฝึกทักษะ โดยยึดหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดจันดี และในการดำเนินการมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)
1.1 วิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์ผู้เรียนได้กำหนดไว้ดังนี้
ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนองค์การสวนยาง 3 จำนวน 9 คน
1.2 วิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนดำเนินการมีดังนี้
เนื้อหาที่จะใช้สร้างแบบฝึกทักษะ โดยใช้เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยเนื้อหาในการทดลองคือเรื่อง เส้นขนาน โดยผู้วิจัยเป็นผู้สร้างฝึกทักษะทั้ง 3 ฉบับ
2. ขั้นออกแบบ (Design)
ขั้นออกแบบแบบฝึกทักษะมีขั้นตอนดังนี้
แบบฝึกทักษะ จำนวน 3 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ เนื้อหาเกี่ยวกับการเส้นขนาน
3. ขั้นดำเนินการ
มีการดำเนินการดังนี้
3.1 ทำการทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนองค์การสวนยาง 3 จำนวน 9 คน โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ ทั้ง 3 ฉบับ และทำการบันทึกคะแนน
3.2 การให้การเสริมแรงระหว่างเรียนโดยการให้คำชมเชยและกำลังใจแก่นักเรียน
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 วิเคราะห์ข้อมูล
- วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบฝึกทักษะ ทั้ง 3 ฉบับ
4.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4.2.1 การหาค่าเฉลี่ย (x ̅)
x ̅=(∑x)/N
เมื่อ x ̅ = ค่าเฉลี่ย
x = คะแนนที่ได้
N = จำนวนนักเรียนทั้งหมด
∑x = ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
4.2.2 การหาค่าร้อยละ
ร้อยละ = คะแนนที่ได้ x 100/คะแนนเต็ม
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดจันดี จำนวน 9 คน ผู้วิจัยได้ทำการทดลองโดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับการคูณเลขสองหลัก จำนวน 3 ฉบับ โดยให้นักเรียนทำสัปดาห์ละ 1 ฉบับ จากนั้นผู้วิจัยทำการบันทึกคะแนน โดยสามารถวิเคราะห์ผลได้ดังนี้
5.1 ผลการวิเคราะห์คะแนนแบบฝึกทักษะทั้ง 3 ฉบับ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางแสดงผลคะแนนแบบฝึกหัดทั้ง 3 ฉบับ
ที่ ชื่อ-สกุล/แบบฝึก แบบฝึกหัดชุดที่ 1 แบบฝึกหัดชุดที่ 2 แบบฝึกหัดชุดที่ 3
1 เด็กหญิงณัฐพร คงสง 14 15 17
2 เด็กหญิงอภิชญา สงเทพ 18 16 19
3 เด็กหญิงพัชรีภรณ์ บัวจีน 12 14 16
4 เด็กชายจักรพันธ์ ดิษฐราชา 16 16 18
5 เด็กหญิงชวัญพิชชา นพรัตน์ 18 16 16
6 เด็กชายภาณุพันธ์ ณะฤทธิ์ 10 12 14
7 เด็กชายณัฐวุฒิ เจ้ยทอง 18 20 18
8 เด็กหญิงกมลชนก มาลาเวช 12 12 14
9 เด็กหญิงธิดารัตน์ คงปินัง 20 20 20
รวม 138 141 152
เฉลี่ยต่อข้อ 15.33 15.67 16.89
ร้อยละ 76.67 78.33 84.44
จากตาราง แสดงให้เห็นว่าหลังจากที่นักเรียนทั้ง 9 คน ได้ทำแบบฝึกทักษะทั้ง 3 ฉบับแล้ว นักเรียนแต่ละคนมีผลคะแนนแตกต่างกัน โดยจะมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับตั้งแต่ชุดที่ 1 ชุดที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนของแต่ละฉบับ แต่ละคนแล้ว คะแนนการทำแบบฝึกทักษะทั้ง 3 ฉบับ โดยเฉลี่ยของนักเรียนทั้ง 9 คน อยู่ในระดับดี คือ โดยฉบับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 76.67 ฉบับที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 78.33 และฉบับที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 84.44
สรุปผลการศึกษาวิจัย
จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากผลการทำแบบฝึกทักษะในเรื่องเส้นขนานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง 9 คน นั้นแสดงให้เห็นว่า คะแนนเฉลี่ยของแต่ละคนสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และคะแนนในแต่ละฉบับของนักเรียนก็เพิ่มขึ้นจากเดิมโดยเฉลี่ยแล้ว โดยฉบับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 76.67 ฉบับที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 78.33 และฉบับที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 84.44ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเสริมแรงโดยการใช้แบบฝึกหัดเพิ่มเติม และการเสริมแรงด้วยการให้รางวัลและวาจานั้นสามารถทำให้ผู้เรียนนั้นมีพัฒนาการทางด้านการคิดคำนวณเพิ่มขึ้น
อภิปรายผลการศึกษา
จากการสร้างแบบฝึกทักษะเรื่องเส้นขนาน เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 คน ในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1. พบว่าแบบฝึกทักษะของเส้นขนานนั้น นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะของตนเองขึ้นได้จากแบบฝึกหัดที่ 1 แบบฝึกหัดที่ 3
2. จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบเป็นรายบุคคลยังพบว่ามีนักเรียนที่เรียนแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
3. จะเห็นได้ว่าการที่ครูให้การเสริมแรงด้วยการให้คำชมเชย ทำให้นักเรียนมีกำลังใจและทำคะแนนได้ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ในการสร้างแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ อาจจะใช้รูปแบบอื่นที่นอกไปจากการคูณเลขสองหลัก อาจใช้วิธี การบวก การลบหรือการหาร และเพิ่มจำนวนหลักให้มากขึ้น
2. ในการวิจัยครั้งต่อไปอาจเพิ่มปริมาณของกลุ่มตัวอย่างขึ้นและอาจเจาะจงทำการวิจัยกลุ่มนักเรียนที่เรียนอ่อนมาก ๆ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือและแก้ไขต่อไป