บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย สุชาวดี พรหมเสน
ปีที่วิจัย 2560
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2)หาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 3)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านทะเลสองห้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.95 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบมาตรวัด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และตรวจสอบสมมติฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.05 / 82.92 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.54
3..ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วย น้ำและอากาศ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (x̄ ) เท่ากับ 4.75 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.42