ชื่อผลงาน รายงานผลการพัฒนาและการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน
เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางสาวพนิดา เปี่ยมมีสมบูรณ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระก่อนและหลังเรียนโดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง
การประสมสระ โดยอวัจนภาษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาทดลองครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนวัดจินดาราม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามีดังนี้
แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนการประสมสระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา จำนวน 33 แผนแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา จำนวน 11 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นข้อสอบปรนัย เลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความก้าวหน้าของคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ T-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 92.53/92.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง การประสมสระ โดยอวัจนภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านแบบฝึกเสริมทักษะ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ