ชื่อเรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้รายงาน : นายเอี่ยมสกุล หมุนลี
ที่ทำงาน : โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการ ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินบริบท ของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
3. เพื่อประเมินกระบวนการ ของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
4. เพื่อประเมินผลผลิต ของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์โดยใช้รูปแบบ การประเมินโครงการแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน คือ บุคลากรในโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2559 ประกอบด้วย
1. แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินด้านบริบท แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม
ความคิดเห็น ผู้ประเมินได้เลือกแหล่งข้อมูล โดยเฉพาะเจาะจง ได้ ผู้บริหาร จำนวน 2 คน และ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 128 คน
2. แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตอบแบบประเมินความเหมาะสม ผู้ประเมินได้เลือก แหล่งข้อมูลโดยเฉพาะเจาะจง ได้ ผู้บริหาร จำนวน 2 คนครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 128 คน
3. แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินด้านกระบวนการ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ผู้ประเมินได้เลือกแหล่งข้อมูลโดยเฉพาะเจาะจง ได้ ผู้บริหาร จำนวน 2 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 128 คน
4. แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินด้านผลผลิต แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม ผู้ประเมินได้เลือกแหล่งข้อมูลโดย ใช้ตาราง Krejcie และ Morgan (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 40) และใช้การสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) ได้ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 339 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 339 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน มีลักษณะเป็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิดเขียนแสดงความคิดเห็น
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินบริบท ของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามการประเมินของครูผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความสอดคล้อง กับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย นโยบายของกองการศึกษาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ นโยบายของโรงเรียน มีความเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียน และมีความสอดคล้องกับสภาพความจำเป็นของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาล ท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอ พบว่า ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมทุกกิจกรรม มีความเหมาะสม/เพียงพอ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินกระบวนการ ของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาล ท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า มีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลผลิต ของโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมแสดงออกถึงพฤติกรรมการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ และชุมชนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพวิชาการของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลจากการสัมภาษณ์
จากการสัมภาษณ์ตามประเด็นต่างๆ ในด้านของประโยชน์ที่ได้รับทุกกลุ่ม เห็นว่า การพัฒนาวิชาการ ส่งผลในเรื่องของการเรียนและทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น ในด้านการนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ส่วนใหญ่เห็นว่าสามารถนำประสบการณ์ ที่ได้ไปใช้ ในชีวิตประจำวัน และการเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไป และพฤติกรรมการเรียนที่ดีสร้างความมั่นใจ ในการเรียน นอกจากนั้น ในเรื่องของแนวทางในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่เห็นว่าควรจัดกิจกรรมนี้ อย่างต่อเนื่องและกิจกรรมที่จัดต้องเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและหลากหลายวิธี