ก

ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน โดยใช้รูปแบบ การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) รายวิชาสังคมศึกษา ส23102 สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย อาภารัตน์ บริกุล
สังกัด โรงเรียนพันดอนวิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) รายวิชาสังคมศึกษา ส23102 สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสาหรับใช้พัฒนาและหาประสิทธิภาพ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทาการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินผล และปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนพันดอนวิทยา ตาบลพันดอน อาเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จานวน 1 ห้องเรียน ที่กาลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จานวนนักเรียนทั้งหมด 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้อง 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (
X
) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนาเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่า องค์ประกอบต้องให้ครบตามรูปแบบของการสร้างชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค กลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) เป็นเนื้อหาที่นักเรียนสามารถนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ควรมีรูปภาพประกอบ ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย นักเรียนได้ใช้สื่อทุกอย่างในชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึง โดยครูคอยดูแลและให้คาแนะนานักเรียนและการวัดผลและประเมินผลควรใช้เครื่องมือที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
2. คู่มือครูและชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยมีค่าดัชนี ความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าประสิทธิภาพแบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 65.83/64.44
ข

ค่าประสิทธิภาพแบบกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) เท่ากับ 75.27/74.07 และค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) เท่ากับ 83.22/82.32
3. ผลการทดลองใช้การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) รายวิชาสังคมศึกษา ส23102 สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 พบว่า มีประสิทธิภาพ คือ E1/E2 เท่ากับ 84.47/83.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ และนักเรียนมีความสามารถในการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. การประเมินผลและปรับปรุงการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการปรับปรุงแก้ไข มีการปรับปรุง การพิมพ์ สะกดคาให้ถูกต้อง ชัดเจน มีภาพประกอบเนื้อหามากขึ้น ปรับปรุงเนื้อหากิจกรรมการอ่าน ปรับปรุงข้อคาถาม ปรับปรุงกิจกรรมเพิ่มเติม และปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหา มากยิ่งขึ้น