ก

ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อพัฒนา ผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา รายวิชาสังคมศึกษา ส21101 สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย อาภารัตน์ บริกุล
สังกัด โรงเรียนพันดอนวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา รายวิชาสังคมศึกษา ส21101 สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่สาคัญ คือ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน โดยทดลองใช้และประเมินผล ปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพันดอนวิทยา ตาบลพันดอน อาเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จานวน 1 ห้องเรียน ที่กาลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จานวนนักเรียนทั้งหมด 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม 2) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสารวจความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย (
X
) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าทีและวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนาเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่ารูปแบบของเอกสารประกอบการเรียน ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายชัดเจน มีรูปภาพ มีภาพการ์ตูนประกอบ สีสันสวยงามและมีเนื้อหาที่ให้ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เป็นเนื้อหาที่นักเรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ หรือสามารถนาความรู้ไปใช้ในการศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญเน้นกระบวนการคิด มีการวัดและประเมินผลครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
2. คู่มือครู (แผนการจัดการเรียนรู้) และเอกสารประกอบการเรียนมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 ค่าประสิทธิภาพแบบรายบุคคล
ข

(Individual Tryout) เท่ากับ 74.45/73.33 ค่าประสิทธิภาพแบบกลุ่มย่อย (Small Group Tryout) เท่ากับ 77.59/76.29 และค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) เท่ากับ 83.50/81.44
3. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา รายวิชาสังคมศึกษา ส21101 สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ คือ E1/E2 เท่ากับ 83.93/82.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กาหนดไว้และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ความรู้พื้นฐาน ทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามหลักไตรสิกขา รายวิชาสังคมศึกษา ส21101 สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลจากการนาไปใช้ ได้ทาการปรับปรุงการพิมพ์สะกดคาให้ถูกต้อง ชัดเจน มีภาพประกอบเนื้อหามากขึ้น ปรับปรุงให้เนื้อหา มีความกระชับมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเนื้อหามากยิ่งขึ้น