ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิค
การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ชื่อผู้ศึกษา นางจันสุดา บุตรมาตย์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องก้าวทันASEANโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิคSTAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนดเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560โรงเรียนเชียงคาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 45คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมีค่าความยากระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20
ถึง 0.69 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 ถึง 0.66 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากค่าอำนาจจำแนกค่าความเชื่อมั่นค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)และทดสอบค่าที(t test แบบ Dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1.ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STADมีค่าเท่ากับ 86.56/88.16
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STADมีค่าเท่ากับ 0.7815
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STADมีค่าเท่ากับหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STADโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก