การรายงานในครั้งนี้เป็นการประเมินผลโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ชุมชน โรงเรียนบ้านกอกโคกวิทยา เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน โรงเรียนบ้านโคกวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 4 ปีการศึกษา 2560 ในองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม (Context) 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยดำเนินงาน (Input) 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process) ของโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) โครงการ
กลุ่มตัวอย่างในการรายงานในครั้งนี้จำนวน 79 คน แยกเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองจำนวน 65 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ชุมชน โรงเรียนบ้านกอกโคกวิทยา
1. การประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ผู้รายงานได้ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนบ้านกอกโคกวิทยา ปีการศึกษา 2560 ผลจากการร่วมประชุมโดยใช้คำถามปลายเปิดเพื่อสอบถามปัญหาที่พบภายในสถานศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ที่ประชุมได้สรุปปัญหาเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 5 ด้าน ได้แก่ การขาดความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน มีการให้บริการและสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนน้อย การประสานความร่วมมือเพื่อการรับบริจาคจากชุมชนมีน้อย โรงเรียนและชุมชนไม่มีการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกัน และบุคลากรในชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในสถานศึกษา
2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) พบว่า ผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ชุมชน ด้านปัจจัย ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05 , S.D. = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การดำเนินงานโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ชุมชนด้านปัจจัยทุกด้านอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) จากการประเมินการดำเนินการตามโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านกระบวนการในด้านการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การวางแผนดำเนินงานตามโครงการ การประเมินผล พบว่า ผลการประเมินกระบวนการโดยภาพรวมการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ชุมชน พบว่า มีการปฏิบัติเฉลี่ยร้อยละ 92.86 การประเมินกระบวนการ โดยกิจกรรมย่อย พบว่า ทั้ง 5 กิจกรรมมีกระบวนการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทุกกิจกรรม
4. การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โดยแยกเป็น 2 ด้านดังนี้
4.1 สภาพการดำเนินงานภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน โดยภาพรวมทั้ง 5 กิจกรรมมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมย่อย ได้ดังนี้
4.1.1 สภาพการดำเนินงานกิจกรรมประสานความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน ภายหลังการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 3.89 , S.D. = 0.30)
4.1.2 สภาพการดำเนินงานกิจกรรมการบริการและสนับสนุนกิจกรรมชุมชน ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 3.99 , S.D. =0.12)
4.1.3 สภาพการดำเนินงานกิจกรรมการประสานความร่วมมือเพื่อรับการบริการชุมชน ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.08 , S.D. = 0.28)
4.1.4 สภาพการดำเนินงานกิจกรรมการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมกับท้องถิ่น ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.43 , S.D. = 0.22)
4.1.5 สภาพการดำเนินงานกิจกรรมการในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.21 , S.D. = 0.17)
4.2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน โดยภาพรวมทั้ง 5 กิจกรรม มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกิจกรรมย่อย ได้ดังนี้
4.2.1 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานกิจกรรมประสานความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน ภายหลังการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54 , S.D. = 0.26)
4.2.2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานกิจกรรมการบริการและสนับสนุนกิจกรรมชุมชน ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.17 , S.D. = 0.48)
4.2.3 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานกิจกรรมการประสานความร่วมมือเพื่อรับการบริการชุมชน ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.33 , S.D. = 0.37)
4.2.4 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานกิจกรรมการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมกับท้องถิ่น ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60 , S.D. = 0.35)
4.2.5 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานกิจกรรมการในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ภายหลังการดำเนินการโครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( = 4.42 , S.D. = 0.22)