การรายงานครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการพัฒนา คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหนองนาดงกวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน 2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกของข้อทดสอบ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบและค่า t - test (Dependent Samples)
ผลการวิเคราะห์ พบว่า
1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยร้อยละของคะแนนการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียน และคะแนนเฉลี่ยร้อยละจากการทดสอบหลังเรียน โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ โดยเฉลี่ย เท่ากับ 85.35/85.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียน จากการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คะแนนทดสอบก่อนเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 20.77 ส่วนคะแนนทดสอบหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.05และมีผลการพัฒนาเฉลี่ยร้อยละ 22.28 นั่นคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนวัดหนองนาดงกวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินเพื่อหาค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (วิชาเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์) เรื่อง การใช้งาน Google Apps for Education ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.24)