บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต
ผู้วิจัย นางสาวบุณยรัตน์ สุวิชา
ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
ปีการศึกษา 2559
รายงานการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต (3) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 13 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 31 คน รวมนักเรียนทั้งสิ้น 44 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 นักเรียน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 6 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบคู่ขนาน แบบเลือกตอบ (Multiple choice test) โดยมีคำตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 อันดับ จำนวน 10 ข้อ และ (4) แผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต จำนวน 20 แผน ใช้เวลาการจัดกิจกรรมเรียนการรู้ จำนวน 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษา สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1) เท่ากับ 86.50 และประสิทธิภาพ (E2) เท่ากับ 81.41 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต พบว่า ก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 53.59 ( =16.08, S.D.= 0.76 ) หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.36 ( =25.31, S.D.= 0.85)
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6629 สูงกว่าเกณฑ์ .05 ขึ้นไป
4. ความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุด สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต พบว่า มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( ) = 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = .18