บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน รายงานการสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย
มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นางสาวเกสรา แจ้งสว่าง
โรงเรียนวัดแก่นจันทน์ (จันทร์เอียงทับทิมราษฎร์บำรุง)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดแก่นจันทน์(จันทร์เอียงทับทิมราษฎร์บำรุง) ที่เรียนรู้โดยใช้แบบึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดแก่นจันทน์ (จันทร์เอียงทับทิมราษฎร์บำรุง) ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดแก่นจันทน์(จันทร์เอียงทับทิมราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่
1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 เล่ม
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย
ผลการดำเนินการพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การเขียนสะกดคำ มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่า E1/E2 = 85.37/84.05 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย การเขียนสะกดคำ มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน มีค่า 9.48 และค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน เท่ากับ 1.94 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน มีค่า 16.81 และค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน 2.34 จากค่าผลต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 154 เฉลี่ย 7.33 นำผลไปเปรียบเทียบด้วยสูตรดัชนีความก้าวหน้า แสดงให้เห็นว่า ผลการเรียนของนักเรียนมีพัฒนาการสูงขึ้นร้อยละ 36.65 ซึ่งมีค่าสูงกว่าร้อยละ 25 นวัตกรรมจึงมีประสิทธิผล
3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การเขียนสะกดคำ มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.14