บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อผลงานทางวิชาการ : รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงโรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ชื่อผู้รายงาน : นายปรีชา นิธิเจริญ
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวฝาย
วิทยฐานะ : ชำนาญการ
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ส่วนราชการ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ในครั้งนี้
รายงานผลการประเมินโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินดังนี้
1. เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิธีดำเนินการประเมินโครงการด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ประชากรในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านหัวฝายปีการศึกษา 2560 จำนวน14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหัวฝายปีการศึกษา 2560 ยกเว้นผู้บริหารและตัวแทนครู จำนวน 7 คนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6โรงเรียนบ้านหัวฝาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 115 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 136 คน
การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ เพื่อสอบถามประชากรโดยใช้ กรอบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam แล้วทำการวิเคราะห์ โดยการใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จ รองลงมา คือกิจกรรม ตามโครงการมีความหลากหลายและหลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้อง กับนโยบายวิสัยทัศน์และเป้าหมายของโรงเรียน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พบว่าผู้บริหาร สร้างความรู้ความเข้าใจกับครูและให้การสนับสนุน รองลงมา คือครูผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมตามโครงการมีความตั้งใจมีความมุ่งมั่นในความสำเร็จของโครงการและนักเรียนทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการและอาคารสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรม ตามโครงการมีความเพียงพอเหมาะสม
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริม การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พบว่านักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างแท้จริง รองลงมา คือผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายมีการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกันและการดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมมืออย่างดีจากนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย พบว่านักเรียน นำผลผลิตจากโครงการ มาประกอบอาหารกลางวันและใช้ประโยชน์ได้ รองลงมา คือนักเรียน นำผลการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมตามโครงการไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน และกิจกรรมทุกกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. สรุปผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านหัวฝาย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยด้านผลผลิต (Product Evaluation) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ด้านบริบท (Context Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุดและด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)อยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ