เรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นางพรพิศ ศรีโบราณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วย
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง
สารในชีวิตประจำวัน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองแวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน จำนวน 9 ชุด 2) แผนการจัด
การเรียนรู้ ใช้ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน จำนวน 11 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารใน
ชีวิตประจำวัน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert)
มี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าดัชนี
ความสอดคล้อง (IOC) ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ค่าความยากง่าย (Difficulty) ค่าความ
เชื่อมั่น (Reliability) การหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน มาตรฐาน 80/80 (E1/E2)
ก
ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) และการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โดยทดสอบค่า t-test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples) ผลการศึกษา
พบว่า
1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ทั้ง 9 ชุด มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 83.11/82.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
80/80 ที่ได้กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน มีค่าเท่ากับ 0.7292 แสดงให้เห็นว่านักเรียน
มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 72.92
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองแวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองแวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองแวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( X = 4.34, S.D. = 0.63)