บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง ๒) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรง โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา จำนวน ๑ ห้องเรียน จำนวน ๑๒ คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลองศึกษากลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย ๑) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่องคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง จำนวน ๒๔ แผน รวมเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง ๒) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบคู่ขนาน ๓) ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ t-test Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกด
ไม่ตรงมาตรา โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑
๒. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง มีประสิทธิภาพ เท่ากับ ๘๑.๙๘ / ๘๒.๒๒
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๓. ความพึงพอใจของผู้นักเรียนต่อการพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
โรงเรียนบ้านคลองกวางเขาวัง มีค่าเฉลี่ย ๔.๓๒ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๔๗ อยู่ในระดับมาก