การศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 41 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด จำนวน 22 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด แบบอัตนัย จำนวน 30 ข้อ แบบอัตนัยวัดทักษะการอ่าน 15 ข้อ วัดทักษะการเขียน 15 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.27/84.90 และจากการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.67/84.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ค่าเฉลี่ย (X-) เท่ากับ 25.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 1.51 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย (X-) เท่ากับ 15.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 2.14 โดยมีคะแนนความก้าวหน้า (D) เท่ากับ 10.32 คิดเป็นร้อยละ 34.39 และค่า t-test เท่ากับ 43.83
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเชียงของมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (X-) เท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.49