การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชุด นิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชุด
นิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจ
ชุด นิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนลา
ทับประชานุเคราะห์ อาเภอลาทับ จังหวัดกระบี่ จานวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชุด นิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
สาหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย นิทานอาเซียนและแบบฝึก จานวน 10 เล่ม และ
แผนการจัดการเรียนรู้ จานวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่าน
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชุด นิทานพื้นบ้านอาเซียน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จานวน
30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ
ความเข้าใจ ชุด นิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สาหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 จานวน 19 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x̄ )
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของ
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชุด นิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยใช้การเรียนรู้
แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ
88.66/88.52 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบ
ฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชุด นิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชุด นิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด