บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม
การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเหล่าต่างคำ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว16101 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า จำนวน 10 แผน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 ชุดกิจกรรม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว16101 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อเพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า
แสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.64/84.23
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า
แสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.7223 แสดงว่านักเรียนมี ความก้าวหน้าทางการเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 72.23
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงจรไฟฟ้า สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลจากการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าในภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.62 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.48
จากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าแสนสนุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถทำให้ผู้เรียนมีความสามารถทางด้านการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์
การเรียนรู้เพิ่มขึ้น