ชื่อเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางสาวบุหงา สันหมุด ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านเกาะนางคำเหนือ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ
การเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้โดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านเกาะนางคำเหนือ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 จำนวน 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่มมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.72/83.53
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 46.38
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก