ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ของโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย นายสมยศ ระย้าอินทร์
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาความต้องการของครูโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน2) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา3) ทดลองใช้รูปแบบและประเมินรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมาและ 4) ประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนารูปแบบและประเมินรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมาโดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบและประเมินรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงรูปแบบ การฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานจากการดำเนินการวิจัยทั้ง 4 ขั้นตอนทำให้ได้รูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของครู ที่ประกอบด้วยหลักการที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการทำงานของครูจุดมุ่งหมายครอบคลุมทั้งด้านความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเนื้อหาสาระครอบคลุมลักษณะการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน 4 ลักษณะกิจกรรมการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์สื่อประกอบการฝึกอบรมชนิดเอกสารประกอบการบรรยายพร้อมชุดบทปฏิบัติการและมีการประเมินผลทั้งความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของครูและการประเมินประเมินทักษะการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยของผู้เรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 เป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 2แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้รับผิดชอบด้านงานวิชาการของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศและประสบความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ จำนวน 4 โรงเรียน รวม 16 คน กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการเกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรมและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3และขั้นตอนที่ 4 ได้แก่ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนพระทองคำวิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 40 คนการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การตอบแบบสอบถาม การสังเกต และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
๒
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาความต้องการของครูโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน มีผลการวิจัย ดังนี้ 1) ผลการวิจัยเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาตนเองด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา พบว่ากลุ่มตัวอย่างทุกช่วงอายุการปฏิบัติงานมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากโดย กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุการปฏิบัติงานอยู่ในช่วง 10 15 ปีมีความต้องการพัฒนาตนเองสูงกว่ากลุ่มอื่น โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.13และ1.20 รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุการปฏิบัติงานน้อยกว่า 5 ปีโดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.73 และ 0.74 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนน้อยกว่ากลุ่มอื่นคือกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุการปฏิบัติงานในช่วงตั้งแต่ 5 10 ปีโดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.57และ 0.48นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะต่างๆมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากซึ่งครูผู้ช่วยมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนสูงกว่ากลุ่มอื่นๆโดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.16 และ 0.76 รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างที่ดำรงตำแหน่ง วิทยฐานะครูชำนาญการโดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.68 และ 0.84 ส่วนครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.56 และ 0.62 และเมื่อวิเคราะห์ในภาพรวมพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.66 และ 0.74สำหรับแนวทางการพัฒนาครูที่เหมาะสมพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความต้องการพัฒนาโดยวิธีการกอบรมที่โรงเรียนควบคู่กับการฝึกปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.03 และ 0.96 รองลงมาคือแนวทางการจัดฝึกอบรมรวมกันทุกโรงเรียนแล้วกลับไปดำเนินการต่อที่โรงเรียนด้วยตนเองโดยมีผู้ฝึกอบรมให้การนิเทศและช่วยเหลือเป็นระยะๆมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.78 และ 0.99 2) ผลการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานและแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานในโรงเรียนพบว่าครูมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่แปลกใหม่และน่าจะสามารถพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการคิดวิเคราะห์และการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างไรก็ตามครูยังมีความไม่มั่นใจว่าจะสามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานได้หรือไม่เพราะมีความวิตกกังวลว่าการวิจัยเป็นสิ่งที่ ยากมาก
2. ผลการดำเนินการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของโรงเรียนพระทองคำวิทยาฉบับร่างทำให้ได้รูปแบบที่ประกอบด้วย 1) ความเป็นมา 2) หลักการ3) จุดมุ่งหมาย 4) เนื้อหาสาระ 5) กิจกรรม 6) สื่อ 7) ระยะเวลา 8) สถานที่ฝึกอบรมและ 9) การประเมินผลรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของโรงเรียนพระทองคำวิทยาฉบับร่างซึ่งมีความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่างๆในภาพรวมพบว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57 และ S.D.= 0.57)ความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานฉบับร่างมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68 และ S.D. = 0.47) 2) และภายหลังการทดลองนำร่องใช้รูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถใน
๓
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานพบว่าครูมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานสูงกว่าก่อนการทดลองนอกจากนี้ผู้เรียนที่ได้เรียนกับครูที่ได้รับการฝึกอบรมมีทักษะการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและจากการสังเกตระหว่างการดำเนินการฝึกอบรมพบว่าสื่อที่ใช้ประกอบการบรรยายมีจำนวนมากเกินไปตลอดจนภาษาที่ใช้ยังไม่กระชับซึ่งผลจากการทดลองนำร่องและการสังเกตดังกล่าวผู้วิจัยได้นำมาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบฯ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นก่อนที่จะนำไปทดลองใช้กับครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนต่อไป
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานกับครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างพบว่าค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานของครูและทักษะการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยของผู้เรียนก่อนการทดลองใช้รูปแบบฯ และหลังทดลองใช้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานพบว่าผ่านเกณฑ์ประสิทธิผลที่กำหนดไว้ทุกข้อจากผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ ดังกล่าวทำให้ได้รูปแบบการฝึกอบรมครูโดยใช้วงจรคุณภาพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีความสมบูรณ์