บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วัตถุประสงค์การศึกษาได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วย ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโคกกะทอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 29 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ จำนวน 10 แผน ค่าความเหมาะสมเท่กับ 4.51
2) ชุดการสอน เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ จำนวน 10 เล่ม ค่าความเหมาะสมเท่กับ 4.46 และ 3) แบบทดสอบย่อยระหว่างเรียน เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ เป็นแบบชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20-.80 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .21-80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test) หลังเรียน (Post-test) เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ เป็นแบบเลือกตอบชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .23-.80 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .20-80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design สอบก่อนการทดลอง (Pre-test) สอนโดยใช้ชุดการสอน (Treatment) และสอบหลังการทดลอง (Post-test ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ E1/E2 หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ใช้ t-test ทดสอบการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้ E.I. วิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน ใช้ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบ ใช้สถิติของแบรนแนน (Brennan) หาค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ใช้สถิติตามวิธีของโลเวท (Lovett) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rcc) ของแบบทดสอบย่อยระหว่างเรียนและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย
(x̄ ) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การเคลื่อนไหวและการเสริมสร้างสมรรถภาพ จึงเท่ากับ E1= 83.65/E2=82.93 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน จะได้ค่าเท่ากับ 0.7250 หมายความว่า ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่องการเคลื่อนไหวและการเสริมร้างสมรรถภาพชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชุดนี้ ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 72.50
สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้