การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดก่อนและ
หลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล
ปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียน
ผินสหราษฎร์พัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 22 คน
โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และดำเนินการจัดประสบการณ์ให้เด็กโดยใช้
หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ทั้ง 12 เล่ม จำนวน 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ด้านการพูดก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพของ
เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 2) แบบประเมินความสามารถด้านการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ได้แก่ ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ (t-test Dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
ความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หลังจัดประสบการณ์สูงกว่า
ก่อนจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ เท่ากับ 11.18 และ 21.50 ตามลำดับ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 41.28
เมื่อพิจารณาเป็นตอน ปรากฏดังนี้
ตอนที่ 1 การบอกชื่อต่าง ๆ จากภาพ พบว่า มีคะแนนก่อนเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 5.23 และหลังเรียนมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 8.77 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตอนที่ 2 การเล่าเรื่องจากภาพ มีคะแนนก่อนเรียน เฉลี่ยเท่ากับ 3.00 และหลังเรียนมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย 6.50 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05