ชื่อเรื่อง : รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึก
เสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุด อ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวบุญสนอง พรรณขรรค์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุด อ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (3) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ(4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านราวนคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 8 คน ใช้เวลา 22 ชั่วโมง ระหว่าง วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2559 ถึง วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุด อ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำ จำนวน 20 ข้อ (3) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุด อ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ และ (4) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุด อ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 22 แผน ใช้เวลาการจัดกิจกรรมเรียนการสอน จำนวน 22 ชั่วโมง สามารถสรุปผลการวิจัยดังนี้
สรุปผลการวิจัย
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุด อ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1) เท่ากับ 85.50 และประสิทธิภาพ (E2) เท่ากับ 81.25 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 69.37 ( m=13.87, s=1.46 ) หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 91.25 (m=18.25, s=1.67 )
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7142 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.42
4. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชุดอ่านเขียนเรียนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย (m) = 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) = .42
มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก