เรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจานวนนับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นายกิตติ ชิณวงค์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจานวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจานวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึก เสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจานวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต อาเภอธารโต สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 3 ห้องเรียน 111 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต อาเภอธารโต สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จานวน 37 คน ได้มาโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุมอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก (Simple random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของ จานวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 17 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จานวน 17 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จานวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และการทดสอบที ( t-test)
ผลการศึกษาพบว่า 1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจานวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.68/84.14 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดคือ 80/80 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจานวนนับ ค่า t test ที่คานวณได้สูงกว่าค่าวิกฤตของ t ที่ระดับนัยสาคัญ .01 ( 34.36 มากกว่า 2.4345) แสดงว่าผลการวัดหลังการฝึกสูงกว่าผลการวัดก่อนการฝึก
ข
ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะจริงจึงยอมรับสมมุติฐานที่ว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องตัวประกอบของจานวนนับ อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .01 3) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องตัวประกอบของจานวนนับ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69)